วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู

คุณธรรมจริยธรรมของครู

วินัยคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู

วินัยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู




                  การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่
                  1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
                  2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
                  5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
                  6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ 





          วินัยและการรักษาวินัย  
    1.ครูต้องประพฤติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
    2.ครูต้องสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธ์ใจและมีหน้าที่วางรากฐานให้เกิดระบอบการปกครองเช่นว่านั้น
    3.ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสมอภาคและเที่ยงธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ดูแลเอาใจใส่รักษาประโยชน์ของทางราชการและต้องปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด              
    4.ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และหน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาลโดยถืประโยชน์สูงสุดของผู้เรียนและไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ              
    5.ครูต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง              
    6.ครูต้องตรงต่อเวลา อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการและผู้เรียนจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้ การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการเป็นความผิดวินัยร้ายแรง
   7.ครูต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม มีความสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรียนและระหว่างข้าราชการด้วยกันหรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ        
   8.ครูต้องไม่กลั่นแกล้ง กล่าวหาหรือร้องเรียนผู้อื่นโดยปราศจากความเป็นจริง              
   9.ครูต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในตำแหน่งหน้าที่รชการของตน                 
 10.ครูต้องไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบหรือนำเอาผลงานทางวิชาการของผู้อื่นหรือจ้างวานให้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการเพื่อไปใช้ในการเสนอขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนวิทยฐานะหรือการให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขี้น การฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวนี้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง                
  11.ครูต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท                
  12.ครูต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยต้องไม่อาศัยอำนาจและหน้าที่ราชการของตนแสดงการฝักใฝ่ ส่งเสริม เกื้อกูล สนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคล หรือพรรคการเมืองใด
   13.ครูต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสียโดยไม่กระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว                    
            คุณธรรม จริยธรรมของครู                                  
        1.ครูต้องมีความขยันหมั่นเพียร                
        2.ครูต้องมีวินัยตนเอง              
        3.ครูต้องรู้จักปรับปรุงตนเอง             
       4.ครูต้องให้ความช่วยเหลือผู้อื่น           
       5.ครูต้องบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน             
       6.ครูต้องเสียสละเพื่อสาธารณะประโยชน์          
       7.ครูต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น               
       8.ครูต้องมีความกตัญญูกตเวที              
       9.ครูต้องไม่ประมาท               
     10.ครูต้องปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทางที่ดี         
     11.ครูต้องมีสัจจะและแสดงความจริงใจ               
     12.ครูต้องมีความเมตตากรุณา      
     13.ครูต้องมีความอดทน อดกลั้น               
     14.ครูต้องมีความซื่อสัตย์           
     15.ครูต้องมีระเบียบวินัยและตรงต่อเวลา          
     16.ครูต้องมีการให้อภัย     
     

ประเพณีสงกรานต์

สงกรานต์ (อังกฤษWater Festival ถอดเป็นอักษรละติน: Songkran; เขมรសង្រ្កាន្តพม่าသင်္ကြန်ลาวສົງການจีน泼水节) เป็นประเพณีของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย[1]สันนิษฐานว่า สงกรานต์ได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลโฮลี (होली) ในอินเดีย แต่เทศกาลโฮลีจะใช้การสาดสีแทน เริ่มในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 4 คือ ในเดือนมีนาคม[2]
สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึง "การเคลื่อนย้าย" ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สงกรานต์สืบทอดมาแต่โบราณคู่กับตรุษ จึงเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เดิมวันที่จัดเทศกาลกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นวันเริ่มปีปฏิทินของไทยจนถึง พ.ศ. 2431 จากนั้นวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483[3]
พิธีสงกรานต์เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ สังคมไทยสมัยใหม่เกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีการประชาสัมพันธ์ในเชิงท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ[4] ซึ่งตัดส่วนที่เป็นความเชื่อดั้งเดิมไป
การละเล่นเด็กไทย

ม้าก้านกล้วย[แก้]
ดูบทความหลักที่: ขี่ม้าก้านกล้วย
ม้าก้านกล้วย เป็นของเล่นที่เด็กผู้ชายที่อยู่ในวัยซุกซนชื่นชอบมาก เด็กไทยทั่วไปจะรู้จักการเล่นม้าก้านกล้วยเป็นอย่างดี
วิธีทำม้าก้านกล้วย ทำง่าย เด็กๆสามารถทำเล่นเองได้ ถ้าอยากเล่นม้าก้านกล้วย เด็กๆก็จะถือมีดเข้าไปในสวนหรือที่ทั่วไปตามบริเวณบ้านที่มีต้นกล้วย เพราะหมู่บ้านคนไทยจะปลูกต้นกล้วยไว้แทบทุกหลังคาเรือน
เมื่อเลือกใบกล้วยที่มีความยาวพอเหมาะ ก็จะตัดใบกล้วยมา เอามีดเลาะเอาใบกล้วยออก เหลือไว้ที่ปลายใบเล็กน้อยเพื่อให้เป็นหางม้า ที่ก้านด้านโคนจะมีขนาดใหญ่เกือบเท่าข้อมือของเด็กๆ ด้านนี้เอง เด็กๆจะกะความยาวประมาณหนึ่งคืบ หรือสองคืบ แล้วเอามีดฝานแฉลบด้านข้างของก้านตรงที่กะไว้ฝานบางๆไปทางด้านโคนทั้งสองข้าง เพื่อให้เป็นหูม้า พอได้ขนาดหูยาวตามต้องการแล้วก็เอามือหักก้านกล้วยตรงที่กะจะให้เป็นโคนหูม้า ก้านกล้วยก็จะกลายเป็นรูปม้ามีหูม้าชันขึ้นทั้งสองข้าง เสร็จแล้วก็เอาแขนงไม้ใผ่มาเสี้ยมปลายให้แหลม ความยาวประมาณคืบเศษ เสียบหัวม้าที่พับเอาไว้ เสียบทะลุไปที่ก้าน ไม้ที่เสียบก็จะมีลักษณะเหมือนสายบังเหียนที่ผูกปากม้ากับคอม้า เสร็จแล้วก็ทำเชือกกล้วยมาผูกด้านหัวม้าและหางม้า ทำเป็นสายสะพายบ่า แค่นี้ก็เสร็จ หาแขนงไม้ไผ่มา ๑ อัน ทำเป็นแส้ขี่ม้า ตอนนี้ก็พร้อมที่จะเล่นม้าก้านกล้วยได้แล้ว
การเล่นม้าก้านกล้วยก็แล้วแต่เด็กๆจะคิดเล่น เช่น เล่นควบม้าวิ่งแข่งกันหาคนชนะ ควบม้าจัดกระบวนทัพต่อสู้กัน หาอาวุธตามรั้วคือแขนงไม้ไผ่มาทำเป็นดาบรบกัน หรือจะวิ่งแข่งกันเป็นคู่ๆ หากไม่มีเพื่อนก็ควบเล่นคนเดียวที่ลานบ้านหรือเลี้ยวไปตามป่ากล้ายในสวนก็ได้[1]
กระโดดเชือก / กระโดดหนังยาง / กระโดดหนังสติ๊ก[แก้]
การกระโดดเชือกมี 2 แบบ คือ การกระโดดเชือกเดี่ยว และการกระโดดเชือกหมู่ ใช้หนังสติ๊ก (หนังยาง) ถักร้อยจนเป็นเส้นยาว หรือ เชือกปอ ยาวพอที่จะตวัดพ้นศีรษะ ขมวดหัว - ท้ายเพื่อกันเชือกลุ่ย เวลาเล่นแกว่งเชือกด้วยมือทั้งสองข้าง แล้วกระโดขึ้นลงตรงกลาง การกระโดดเชือกหมู่จะใช้เชือกที่ยาวกว่า มีผู้เล่นสองคนจับหัวท้ายข้างละคน คอยแกว่ง (หรือไกว) เชือก สามารถกระโดดได้พร้อมกันหลายๆ คน
กระต่ายขาเดียว[แก้]
ดูบทความหลักที่: กระต่ายขาเดียว
การเล่นไล่จับชนิดหนึ่ง โดยคนที่เป็นกระต่าย ยืนด้วยขาข้างเดียว แล้วกระโดด เขย่ง เคลื่อนที่ไล่จับ (แตะถูกตัว) เด็กคนอื่น ภายในพื้นที่ที่กำหนด ถ้าใครโดนจับได้ก็ต้องออกจากการแข่งขันเพื่อรอรอบต่อไป
ตั้งเต[แก้]
การกระโดดขาเดียวไปภายในช่องสี่เหลี่ยมที่ขีดขึ้นบนพื้น ขนาด 5 แถว คูณ 2 คอลัมน์ (รวม 10 ช่อง) ทีละช่อง
บอลลูนด่าน / บอลลูนโป้ง[แก้]
เด็กแบ่งเป็นสองทีม เป็นทีมดักจับ กับทีมหนี โดยที่ทีมจับ แต่ละคนจะตั้งด่านวิ่งได้เฉพาะตามแนวเส้นตรง และเส้นนอน ของพื้น ส่วนทีมหนี จะหลบหลีกวงแขนดักจับ วิ่งผ่านลงไปจนสุดด่าน แล้ววิ่งย้อนกลับขึ้นไปยังจุดเริ่มต้น ถ้าผ่านหมดทุกด่านก็จะชนะ
โมราเรียกชื่อ[แก้]
ใช้ลูกปิงปองโยนขึ้นสูงเหนือหัวราวหนึ่งช่วงตัว แล้วเอ่ยชื่อคนอื่น ให้เข้ามารับที่ตกกระเด้งขึ้นมาจากพื้น หนึ่งครั้งเท่านั้น หากวิ่งมารับไม่ทันในการกระดอนหนึ่งครั้ง ถือว่ารับไม่ได้ ให้ลูกปิงปอง แล้วขว้างให้โดนเด็กคนอื่น โดนใคร คนนั้นก็เสียน่อง ซึ่งมักจะเจ็บแปดวงกลมๆ แดงๆ จบรอบล้างแต้ม เริ่มเล่นกันใหม่
ข้อควรระวังของผู้แพ้ที่ถูกจับ ขึ้นแท่น หากยืนขาไม่ชิดกัน จนลูกปอง รอดขา จะได้รับรางวัลให้ปาเพิ่มอีก 5 ครั้ง ส่วน คา 10 ก็เช่นกัน ถ้าปาแล้วติดคาหว่างขา จะโดนเพิ่มอีก 10
ความชื่อต้องวิ่งมารับให้ทัน เมื่อเรียกชื่อแล้ว เด็กที่เหลือ ก็จะฮือหนีออกห่างลูกปิงปอง เพราะกลัวโดนปาถูก หากเด็กที่ถูกเรียกชื่อรับลูกปิงปองได้ในการกระเด้งหนึ่งครั้ง ทุกคนก็จะฮือกลับมาล้อมวงรอเรียกชื่อใหม่อีกครั้ง รวมถึงจำชื่อเพื่อนๆ ที่ร่วมเล่นที่เราบอกทั้งหมด
เล่นห่วง[แก้]
"ห่วง" เป็นอุปกรณ์การเล่นที่ประดิษฐ์จากไม้ไผ่ ซึ่งเหลาจนไม่มีคมเหลืออยู่ นำปลายทั้งสองข้างมาผูกเป็นวงกลม เล่นโดยการนำเข้ามาร่อนที่เอว เช่นเดียวกับการเล่นห่วงในปัจจุบัน นิยมเล่นกันเป็นกลุ่ม การละเล่นนี้จะทำให้เด็กๆ สนุกกับการออกกำลังกาย และได้พบปะเพื่อนฝูง
ขี่ม้าส่งเมือง[แก้]
แบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่าย แล้วเลือกผู้เล่น 1 คน มาเล่นเป็นเจ้าเมือง ฝ่ายที่เริ่มก่อนจะกระซิบความลับให้เจ้าเมืองทราบ (อาจจะเป็นชื่อคนหรือเรื่องที่ตกลงกันไว้) ถ้าฝ่ายตรงข้ามทายถูกเจ้าเมืองจะบอกว่า "โป้ง" ฝ่ายที่ทายถูกก็จะชนะ และได้ฝ่ายแรกเป็นเชลย ถ้าทายผิดก็จะต้องตกเป็นเชลย ฝ่ายใดตกเป็นเชลยหมดก่อน ต้องเป็นม้าให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่หลังไปส่งเมือง
กาฟักไข่[แก้]
บางแห่งเรียกกว่า "ซิงไข่เต่า" ผู้เล่นเป็นอีกาหรือเต่าจะเข้าไปอยู่ในวงกลมที่ขีดไว้ คนอื่นๆอยู่นอกวงกลม พยายามแย่งเอาก้อนหินที่สมมุติว่าเป็นไข่มาให้ได้ อีกาหรือเต่าจะปัดป่ายแขนขาไปมา ถ้าโดนผู้ใดผู้นั้นจะต้องมาเล่นเป็นอีกาแทนทันที แต่ถ้าไข่ถูกแย่งหมด อีกาหรือเต่าจะต้องไปตามหาไข่ที่ผู้อื่นซ่อนไว้ หากหาไม่พบจะถูกจูงหูไปหาไข่ที่ซ่อนไว้ เป็นการลงโทษ
·         โทกเทก
อาจเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น เป็นการละเล่นที่ใช้อุปกรณ์ที่ทำมาจากไม้ไผ่ ประกอบด้วยท่อนไม้สั้นซึ่งเป็นที่เหยียบสำหรับยืน มีผ้าพันเพื่อไม่ให้เจ็บง่ามเท้า ไม้ท่อนยาวสำหรับใช้เป็นตัวยืนจับ เวลาเล่นต้องพยายามทรงตัวเดินจะทำให้รู้สึกว่าขายาวขึ้น เด็กๆ อาจจะแข่งขันกันว่าใครสามารถเดินได้เร็วกว่ากัน
มอญซ่อนผ้า[แก้]
ทุกคนนั่งล้อมวงช่วยกันร้องว่า "มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ" มอญจะถือผ้าเดินรอบวงแล้วแอบหย่อนผ้า ไว้ข้างหลังผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง หากผู้เล่นคนนั้นรู้ตัวก่อนก็จะหยิบผ้ามาไล่ตีมอญ แล้ววิ่งมานั่งที่เดิม แต่หากว่ามอญเดินกลับมาอีกรอบหนึ่ง แล้วผู้เล่นคนนั้นยังไม่รู้ตัว ก็จะถูกมอญเอาผ้าตีหลัง และต้องเล่นเป็นมอญแทน
หมาไล่ห่าน[แก้]
เลือกผู้เล่นคนหนึ่งเป็นหมาวิ่งไล่ อีกคนหนึ่งเป็นห่านวิ่งหนี ผู้เล่นนอกนั้นจับมือล้อมกันเป็นวง เมื่อห่านจวนตัวก็จะวิ่งลอดเข้าไปในวงล้อม ผู้ที่เล่นเป็นประตูต้องพยายาม กันไม่ให้หมาเข้าไปในหรือนอกวงทันห่าน กติกามีอยู่ว่าช่วงใดที่ผู้เล่นเป็นประตูพากันนั่งลง ถือเป็นการปิดประตู หากห่านใดไล่ทันและโดนจับได้ก็ถือว่าแพ้
ลิงชิงหลัก[แก้]
เลือกผู้เล่นคนหนึ่งสมมุติว่าเป็นลิงไม่มีหลัก ยืนอยู่กลางวง ผู้เล่นที่เหลือยืนเกาะหลักของตน (ใช้คนสมมุติเป็นหลักก็ได้) อยู่รอบวง กติกาคือผู้เล่นเป็นลิงมีหลักจะต้องสลับหลักเรื่อยๆ ลิงตัวที่ไม่มีหลักก็จะต้องพยายามแย่งหลักของตัวอื่นให้ได้ ถ้าวิ่งเร็วกว่าก็จะได้หลักไปครอง ลิงที่ช้ากว่าก็จะกลายเป็นลิงชิงหลัก คอยแย่งหลักคนอื่นต่อไป
ลูกช่วง[แก้]
ใช้ผ้าเช็ดหน้าผืนใหญ่หรือเศษหญ้าแห้งมาผูกปมเป็นลูกช่วง แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย เท่ากัน เริ่มเล่นด้วยการโยนลูกช่วงให้อีกฝ่ายหนึ่งรับ ถ้าฝ่ายตรงข้ามรับได้ก็จะต้องเอาลูกช่วงนั้นปากลับ มายังฝ่ายที่โยนมา ถ้าปาถูกตัวผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง ฝ่ายที่โยนมาก็จะได้คะแนน ความสนุกจะอยู่ที่ลีลาในการหลอกล่อ ชิงไหวชิงพริบ ของการหลบและการปาลูกช่วง ซึ่งอาจจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งสับสน
โพงพาง[แก้]
ผู้ที่เล่นเป็น "ปลา" จะถูกผูกตาแล้วหมุน 3 รอบ ผู้เล่นอีกคนอื่นล้อมวงร้องว่า "โพงพางเอ๋ย สำเภาเข้าลอด ปูปลาตาบอด เข้าลอดโพงพาง" จบแล้วถามว่า "ปลาเป็นหรือปลาตาย?" ถ้าปลาตอบว่า "ปลาตาย" แปลว่าห้ามขยับ แต่ถ้าตอบว่า "ปลาเป็น" ก็ขยับได้ หากผู้เล่นเป็นปลา แตะถูกตัวคนใดคนหนึ่งแล้วทายชื่อถูก ผู้นั้นจะต้องกลายเป็นปลาแทน ถ้าไม่ถูกก็ให้ทายใหม่
โพงพาง คือ ชื่อของกับดักปลาชนิดหนึ่ง
รีรีข้าวสาร[แก้]
ให้ผู้เล่นสองคน ใช้สองมือจับกัน แล้วยกโค้งขึ้นเสมือนซุ้มประตู ผู้เล่นที่เหลือเอามือจับเอวเดินเป็นแถวลอดประตูนั้นไป พร้อมกับร้องว่า "รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน คดข้าวใส่จาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน พานเอาคนข้างหลังไว้ให้ดี" เมื่อถึงคำสุดท้าย ซุ้มประตูก็จะลดมือลง กักตัวผู้เล่นที่เดินผ่านมา ผู้เล่นที่ถูกกักตัวจะถูกคัดออก หรืออาจจะถูกลงโทษด้วยการให้รำหรือทำท่าทางอะไรก็ได้
ตี่จับ[แก้]
แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย มีเส้นแดนตรงกลาง ตัวแทนฝ่ายที่รุกจะต้องส่งเสียง "ตี่" ไม่ให้ขาดเสียง และจะต้องพยายามแตะตัวคนใดคนหนึ่ง ของฝ่ายรับมาเป็นเชลย ส่วนฝ่ายรับหากเห็นว่าคนที่รุกมากำลังจะหมดแรงหายใจ จะถอยกลับก็จะพยายามจับตัวไว้ให้ได้ หากคนที่รุกเข้ามาขาดเสียง "ตี่" ก่อนกลับเข้าแดนของตน ก็จะต้องตกเป็นเชลยของอีกฝ่าย และยังเป็นการเล่นที่เล่งได้ง่ายมากๆอีกด้วย
ชักเย่อ[แก้]
ใช้เชือกเส้นใหญ่ยาวพอประมาณกับจำนวนผู้เล่น แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย มีเส้นแดนตรงกลาง เมื่อสัญญาณเริ่ม ทั้งสองฝ่ายจะเริ่มออกแรงดึงเชือก โดยพยายามดึงฝ่ายตรงข้ามให้เข้ามาในแดนของตน หากผู้แข่งขันเป็นชายหนึ่งฝ่ายและหญิงฝ่ายหนึ่ง อาจจะกำหนดให้ฝ่ายหญิงมีจำนวนมากกว่าชายก็ได้ เป็นการละเล่นไทยสอนให้รู้จักความสามัคคีและเป็นการออกกำลังกายไปในตัวด้วย
หมากเก็บ[แก้]
จำนวนผู้เล่น : จำนวนผู้เล่น 2 – 4 คน วิธีเล่น :
ใช้ก้อนกรวดที่มีลักษณะกลมๆ 5 ก้อน เสี่ยงทายว่าใครจะเล่นก่อน โดยวิธีขึ้นร้าน คือ ถือหมาก ทั้งห้าเม็ดไว้แล้วโยนพลิกหงายหลังมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับอีกที ใครเหลือหินอยู่ในหินอยู่ในมือมากที่สุด คนนั้นเล่นก่อน มีทั้งหมด 5 หมาก
หมากที่ 1 ทอดหมากให้ห่างๆ กัน เลือกลูกนำไว้ 1 เม็ด ควรใช้เม็ดกรวดที่ห่างที่สุด โยนเม็ดนำขึ้น แล้วเก็บทีละเม็ดพร้อมกับรับลูกนำที่หล่นลงมาให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า “ตาย” ขณะที่หยิบเม็ดที่ทอดนั้น ถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นถือว่า ตาย
หมากที่ 2 เก็บทีละ 2 เม็ด
หมากที่ 3 เก็บทีละ 3 เม็ด
หมากที่ 4 ใช้โปะ ไม่ทอด คือ ถือหมากทั้งหมดไว้ในมือ โยนลูกนำขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลงพื้น แล้วรวมทั้งหมดที่ถือไว้
ขี้นร้าน” ได้กี่เม็ดเป็นแต้มของคนนั้น ถ้าขึ้นร้านเม็ดหล่นหมด ใช้หลังมือ รับไม่ได้ ถือว่า “ตาย” ไม่ได้แต้ม คนอื่นเล่นต่อไป ถ้าใครตายหมากไหนก็เริ่มต้นหมากนั้น ส่วนมาก กำหนดแต้ม 50-100 แต้ม เมื่อแต้มใกล้จะครบ เวลาขึ้นร้านต้องคอยระวังไม่ให้เกินแต้มที่กำหนด ถ้าเกิน ไปเท่าไร หมายถึงว่าต้องเริ่มต้นใหม่โดยได้แต้มที่เกินไปนั้น วิธีเล่นหมากเก็บนี้มีพลิกแพลงหลายอย่าง เช่น โยนลูกนำขึ้นเก็บทีละเม็ด เมื่อเก็บได้เม็ดหนึ่งก็โยน ขึ้นพร้อมกับลูกนำ 2 – 3 – 4 เม็ด ตามลำดับ หมาก 2 – 3 -4 ก็เล่นเหมือนกัน โยนขึ้นทั้งหมด เรียกว่า “หมากพวง” ถ้าโยนลูกนำขึ้นเล่นหมาก 1- 2 -3 -4 แต่พลิกข้างมือขึ้นรับลูกนำให้เข้าในมือระหว่างนิ้ว โป้งและนิ้วชี้ โดยทำเป็นรูปวงกลมเตรียมไว้เรียก “หมากจุ๊บ” ถ้าใช้มือซ้ายป้อง และเขี่ยหมากให้เข้าใน มือนั้นทีละลูกในหมาก 1 -2 -3 และ 4 ตามลำดับ เรียกว่า “อีกาเข้ารัง” ถ้าเขี่ยไม่เข้าจะตาย ถ้าใช้นิ้ว กลางกับนิ้วหัวแม่มือยันพื้น นิ้วอื่นปล่อยทำเป็นรูปซุ้มประตู เขี่ยหมากออกเรียกว่า “อีกาออกรัง” ถ้าใช้ นิ้วกลางกับนิ้วหัวแม่มือ ขดเป็นวงกลม นิ้วชี้ชั้ตรงนิ้ว นอกนั้นยันพื้นเป็นรูปรูปู เรียกว่า “รูปู” เมื่อจบ เกมการเล่นแล้วจะมีการกำทาย ผู้ชนะจะทายผู้แพ้ ว่ามีกี่เม็ด ถ้าทายผิดจะต้องถูกเขกเข่า กี่ทีตามที่ตนเอง ทายจนเหลือเม็ดสุดท้าย คนทายจะถือเม็ดไว้ในมือ แล้ววนพร้อมกับร้องเพลงประกอบ เมื่อร้องจบเอา มือหนึ่งกำไว้ งอข้อศอกขึ้นต้องบนมือที่กำอีกข้างหนึ่ง


   


วันสำคัญ
วันออกพรรษา

วันออกพรรษา หรือ วันปวารณาออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมปวารณาออกพรรษาในวันนี้ วันออกพรรษาตามปกติ (ออกปุริมพรรษา1) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตามปฏิทินจันทรคติไทย
การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ เรียกว่า "ปวารณา"[1] จัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอดไตรมาสสามารถว่ากล่าวตักเตือนและชี้ข้อบกพร่องแก่กันและกันได้โดยเสมอภาค ด้วยจิตที่ปรารถนาดีซึ่งกันและกัน เพื่อสามารถให้พระสงฆ์ที่ถูกตักเตือนมีโอกาสรับรู้ข้อบกพร่องของตนและสามารถนำข้อบกพร่องไปแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดียิ่งขึ้น
เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ และวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหณะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า ในวันถัดวันออกพรรษาหนึ่งวัน พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 เพื่อลงมายังเมืองสังกัสสนคร[2]พร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสามด้วย[3]
นอกจากนี้ ช่วงเวลาออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ถือเป็นเวลากฐินกาลตามพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานกฐินประจำปีในวัดต่าง ๆ ด้วย โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญกุศลมากงานหนึ่ง
นออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน (นับแต่วันเข้าพรรษา) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า "ปวารณา" แปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้" ในวันออกพรรษานี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ เรียกว่า มหาปวารณา เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เพราะในระหว่างเข้าพรรษา พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข การให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วย